การเก็บอสุจิด้วยวิธีการพีซ่า-เทซ่า (PESA-TESA)
ภาวะหมันชายคืออะไร สาเหตุของการเป็นหมัน
การที่ตรวจน้ำเชื้ออสุจิจากการหลั่ง แล้วไม่พบเซลล์อสุจิเลย การสร้างเซลล์อสุจิ ซึ่งเป็นตัวแทนเซลล์สืบพันธุ์ฝ่ายชาย เริ่มต้นจากฮอร์โมนต่อมใต้สมองหลั่งไปสั่งการที่ถุงอัณฑะ ให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชายและสร้างตัวอสุจิ หลังจากอสุจิถูกสร้างขึ้นจะถูกเก็บไว้ในกระเปาะที่เรียกว่า Epididymis และถูกลำเลียงออกมาทางองคชาติเมื่อมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางท่อปัสสาวะ
ดังนั้นในภาวะหมันชาย จึงอาจเกิดจากสาเหตุได้สองอย่างหลักๆ ได้แก่ การอุดกั้นการลำเลียงน้ำอสุจิ แต่สามารถสร้างอสุจิได้ปกติ เราเรียกสาเหตุที่ว่า Obstructive azoospermia โดยการทำหมันชายก็นับเป็นหนึ่งในสาเหตุเดียวกันนี้ และอีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการผลิตตัวอสุจิบกพร่อง หรือภาวะ Non-obstructive azoospermia
การรักษาภาวะหมันชาย
- แพทย์ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากลูกอัณฑะ (Non-obstructive azoospermia) ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานผลิตน้ำอสุจิ ไม่สามารถผลิตอสุจิได้ หรือว่าเกิดปัญหาจากการลำเลียงอสุจิจากลูกอัณฑะอุดตัน (Obstructive azoospermia)
- หากสาเหตุเกิดจากการสร้างอสุจิมีปัญหาการรักษาค่อนข้างยาก ถึงแม้ว่าจะมียาบางชนิดที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างอสุจิขึ้นมาได้ แต่หวังผลได้ค่อนข้างน้อย
- ส่วนกรณีที่เป็นหมันเนื่องจาก ท่อลำเลียงอสุจิอุดตัน การรักษาค่อนข้างง่าย โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเอาน้ำอสุจิจากท่อพักอสุจิหรือดูดเนื้ออัณฑะจากลูกอัณฑะ เพื่อไปคัดหาเซลล์อสุจิ (Sperm) แล้วนำผลไปผสมกับเซลล์ไข่โดยวิธีอิ๊กซี่ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ที่ได้ผลสำเร็จดีมาก
วิธีการรักษา
วิธีการเก็บอสุจิมี 4 รูปแบบ ดังนี้
- PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา เมื่อพบตัวอสุจิแล้วก็จะนำเอามาทำ ICSI ต่อไป
- TESE (Testicular Epididymal Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
- TESA (Testicular Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
- MESA (Microsurgical Epiddymal Sperm Aspiration) คือ การผ่าตัดเข้าไปหาท่อพักน้ำเชื้อส่วน epididymis แล้วจึงใช้เข็มแทงเข้าไป และดูดตัวอสุจิออกมา จากนั้นก็นำไปทำ ICSI ต่อไป
ขั้นตอนการทำ PESA/TESE
ซึ่งหัตถการทำภายใต้การวางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ จึงไม่รู้สึกเจ็บระหว่างทำแต่อย่างใด หลังจากนั้นท่านจะได้รับการสังเกตอาการในห้องพักฟื้นต่ออีก 2 ชั่วโมง เมื่อกลับบ้านสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก การกระแทกโดยตรงบริเวณถุงอัณฑะเป็นเวลา 1 – 2 สัปดาห์ โดยบาดแผลหากเป็นการทำ PESA / TESA ขนาดจะเล็กเท่าเพียงรูเข็มเจาะเลือด หากเป็นการทำ TESE / MESA อาจมีแผลนาดเล็กประมาณ 0.5 เซนติเมตร