ศูนย์การแพทย์ให้คำปรึกษา และรักษาผู้มีบุตรยาก – Angel Baby Clinic

OPD – Test

ivfangelbabyclinic

ทราบหรือไม่ว่า กว่า 50% ของปัญหาการมีบุตรยาก มีสาเหตุมาจากอสุจิคุณภาพต่ำ

     การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology; ART) เข้ามามีบทบาทช่วยคู่สมรสที่ประสบปัญหามีบุตรยาก โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาอสุจิไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อย ให้ได้มีบุตรดังใจหวัง

     วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ซึ่งก็คือการคัดเลือกอสุจิที่สมบูรณ์เพียงตัวเดียว ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง ดังนั้น การเลือกตัวอสุจิที่ดีที่สุดเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก

     การคัดเลือกและเตรียมอสุจิ มีเทคนิคมากมาย ตั้งแต่วิธีดั้งเดิมจนถึงวิธีระดับสูง แต่ในปัจจุบันนี้ วิธีที่ใช้กันมากที่สุด เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง นั่นคือ Swim-up และ Density gradient centrifugation นั่นเอง

ivfangelbabyclinic
  1. Swim-up เป็นวิธีการเตรียมอสุจิขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยหลักการที่ว่า อสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ จะสามารถว่ายออกมาจากตะกอนขึ้นสู่ชั้นของน้ำยาด้านบน จากนั้นจึงค่อยดูดเอาของเหลวด้านบนมาใช้ ICSI ต่อ

ข้อดี: – ง่าย เร็ว และประหยัด

        – เนื่องจากมีขั้นตอนการเตรียมที่น้อย ไม่ได้รบกวนอสุจิมาก จึงลดการเกิดอนุมูลอิสระในอสุจิได้ (อนุมูลอิสระอาจเป็นสาเหตุของการแตกหักของ DNA ได้)

        – ได้เฉพาะตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ดี โดยไม่มีเซลล์ตายหรือเศษเซลล์อื่นเข้ามาปะปน

ข้อเสีย: – ใช้เทคนิคนี้ได้เฉพาะรายที่มีจำนวนอสุจิพอสมควร และเคลื่อนที่ดี

  1. Density gradient centrifugation คือ การปั่นแยกอสุจิที่ดีออกจากเซลล์ตายและเศษเซลล์ต่างๆ โดยใช้ความเข้มข้นที่ต่างกันของน้ำยาเป็นตัวแยกอสุจิ

ข้อดี: เหมาะกับผู้ที่มีจำนวนอสุจิและตัวอสุจิเคลื่อนที่น้อย

ข้อเสีย: – เกิดอนุมูลอิสระสูงกว่า Swim-up

สองวิธีนี้เป็นเพียงวิธีพื้นฐานจากหลายๆวิธี เพื่อคัดเลือกอสุจิก่อนปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน โดยหวังว่าตัวอ่อนที่ได้นั้นจะทำให้คู่สมรสที่อยากมีบุตรได้สมหวังในที่สุด

Angel Baby IVF Lab team

Writing By Benjamas Arlai , MT

Verified By Punyisa Jirathanavorakarn

แหล่งอ้างอิง

  1. Vander Borght M., Wyns C. Fertility and infertility: Definition and epidemiology. Clin. Biochem. 2018;62:2–10. doi: 1016/j.clinbiochem.2018.03.012.
  2. Vaughan D.A., Sakkas D. Sperm selection methods in the 21st century. Biol. Reprod. 2019;101:1076–1082. doi: 10.1093/biolre/ioz032.
  3. Bui A.D., Sharma R., Henkel R., Agarwal A. Reactive oxygen species impact on sperm DNA and its role in male infertility. Andrologia. 2018;50:e doi: 10.1111/and.13012.
  4. World Health Organization. WHO Laboratory Manual for the Examination and Processing of Human Semen. 6th ed. World Health Organization; Geneva, Switzerland: